 เพิ่มเติมครับมีหลายท่านที่ทำคอนโทรลเสร็จนำไปใช้เกิดคอนโทรลไหม้จะเริ่มไหม้ที่Rก่อนแล้วมาที่ซีเนอร์ไดโอดและทรานซิสเตอร์เป็น3ตัวหลัก สาเหตุมาจากไม่ได้ต่อแบตเตอรี่ไว้ก่อนเมื่อไม่มีโหลด(หรือแบตเตอรี่)รอบกังหันจะหมุนเร็วโวลต์จะสูงมากอาจสูงถึง50-100โวลต์
กลับมาเพิ่มเติมอีกครั้งครับ สำหรับหัวข้อนี้ เป็นการแสดงภาพวิธีต่อวงจรทีละตัว และทุกขั้นตอนของการต่ออุปกรณ์ ผมจะอธิบายหน้าที่ของ "อิเล็กทรอนิค" แต่ละตัวว่ามีหน้าทำอะไรตามในภาพประกอบเพื่อความเข้าใจของท่าน ที่ไม่มีความรู้พื้นฐานทางนี้เลย(เหมือนผม) ผมหวังว่าในเวลาข้างหน้าคงมีการพัฒนาดีกว่านี้และมีการแบ่งปันข้อมูลแก่กันและกัน ข้อมูลพื้นฐานของวงจรชนิดนี้ เป็นการเช็กโวลต์ DC ที่มีจำกัด ของแบตเตอรี่กับไฟจากกังหันลม โดยใช้(Z) "ซีเนอร์ไดโอด" เป็นตัวกำหนดค่าของโวลต์ หลักการของซีเนอร์ไดโอดคือ จะไม่ยอมให้กระแสไฟไหลผ่านตัวเค้าได้ถ้าโวลต์ไม่ถึงที่เค้ากำหนด เช่น ซีเนอร์ไดโอด 14 โวลต์ นั่นก็หมายความว่า กระแสไฟต้องถึง14โวลต์เท่านั้นถึงจะไหลผ่านได้ ลักษณะวงจรแบบนี้เรียบง่ายคงทนต้นทุนไม่สูงจึงเป็นที่นิยม ทำกันมากกว่าการวัดกันด้วยกระแสของแอมป์
ผังระบบคอนโทรลของกังหันลม

แบบแผ่นปริ้นที่สมาชิกไปกัดมา



(ซ้ายมือ) เป็นแผ่นปริ้นสำเร็จ มีขายตามร้านอิเล็กทรอนิค ลักษณะวงจร "ขั้วลบ" จะปิดขอบทั้งหมด ส่วน "ขั้วบวก"จะอยู่ตรงกลาง เพื่อง่ายต่อการทำงาน และป้องกันการช็อตได้ดี (ขวามือ) ในวงจรนี้ผมใช้ "R1k" มีหลายขนาด แต่ที่ใช้คือ 1/4วัตต์ (หนึ่งส่วนสี่วัตต์) เค้ามีหน้าที่ลดกระแสของแอมป์ไม่ให้ผ่านไปแบบเต็มๆ จะเป็นอันตรายต่อ อิเล็กทรอนิคตัวอื่นๆ

(ซ้ายมือ) Z "ซีเนอร์ไดโอด" เอาไว้เช็กโวลต์ ในวงจรนี้ มี2ตัว สีเทา16โวลต์ สีแดง 13โวลต์ ค่าทั่งหมดนี้จะไม่เท่าเดิมหลังจากที่เราเอา ค่า "R1k" มาไว้ข้างหน้ากระแสจะลดลงทำให้ ค่าของซีเนอร์เพิ่มขึ้นเป็น 17โวลต์ 14โวลต์ (ขวามือ) ทรานซิสเตอร์ 3ขา เบอร์ 3055 หรือ BD23C หรือ เหมือนในรูปก็ได้ขอให้เป็นทรานซิสเตอร์ก็ใช้ได้แล้วครับ

ลงเป็นขั้นตอนเลยนะครับ เอาR1k มาขวางให้ดึงไฟจากขั้ว "บวก" ออกมาโดยให้ผ่านR เพื่อลดกระแสให้เหลือประมาณ 10 มิลลิแอมป์

จาก R1k มาเข้า ซีเนอร์ไดโอด เพื่อบอกสถานะของโวลต์ ที่เราต้องการให้ไฟฟ้าไหลผ่านออกมาเพื่อไปเข้าขา B ของทรานซิสเตอร์

วางให้ดีนะครับ (รูปด้านซ้ายมือ) ตัวที่ติดมุมล่างคือ ด้านหลัง เวลาหงายหน้าขึ้นมา ขาB อยู่ซ้ายสุด ขาC อยู่ตรงกลางเวลามีไฟมาเข้าขาB ขาC จะมีไฟขั้วลบออกมา และ ขาE จะเข้าลบอยู่ขวาสุด

C คาปาซิสเตอร์ มีหน้าที่ กรองกระแสให้เรียบ หรือ หน่วงเวลาให้ช้าลง ไม่ให้กระเพื่อม เพราะกังหันลมมีรอบไม่คงที่ เดี๋ยวช้า เดี๋ยวเร็ว ถ้าใช้ค่าที่น้อยวงจรจะรวนและทำงานเร็ว ผมใช้ 50V330uF(m)-50V1000uF(m)

รูป(ซ้ายมือ)ใส่ไดโอด1N4007 มีหน้าที่ป้องกัน กระแสไฟย้อนกลับให้ไหลผ่านได้ด้านเดียว ในที่นี้เอาไว้ค่อมรีเลย์ให้กระแสไฟขั้วลบไหลไปทิ้งที่บวกได้อย่างเดียวในกรณีที่รีเลย์ทำงานขดลวดในรีเลย์จะบวมเมื่อหยุดจ่ายไฟจำเป็นต้องให้ไฟที่เหลือไหลไปทิ้งที่ขั้วบวก รูป(ขวามือ)หงายแผ่นปริ้นยังไม่ได้มีการต่อวงจรจาก ขา C (ขากลาง)ทรานซิสเตอร์ ไปเข้าขาลบของ 1N4007 รูป(ตรงกลาง)เป็นการเชื่อมวงจร

บางครั้งแผ่นปริ้นสำเร็จรูป ก็ต้องมีการเจอะรูเพิ่มเองเพื่อให้ตรงกับขารีเลย์ของเรา

ลายปริ้นถ้ามีลายเส้นตรงกันให้ขูดออกได้เลย โดยใช้คัตเตอร์ ในรูปสีแดง ได้แสดงการเชื่อมต่อของรีเลย์

แสดงจุดที่เราจะต้องดึงไฟออกไปใช้งานโดยมีR1kคร่อมไว้ก่อนไปเข้าขาบวกLED หลอดสีแดง หรือต่อสายไปเข้ารีเลย์Bosch ของรถยนต์ เพื่อให้ทนกระแสที่สูงของกังหันลม ศรชี้สีน้ำเงิน บอกจุดใช้งานของพัดลม

ลายเส้นสีแดงคือที่ R1k ต้องคร่อมผ่าน เมื่อพลิกด้านจะเห็น R1k ต่อเข้ากับขาบวกของหลอด LED สีเขียว หรือไปใช้กับพัดลม

หลังจากทำวงจรเสร็จ ผมมีรูปการประกอบภายนอกเพื่อนำไปใช้งานจริง อาจจะไม่เหมือนกับชุดวงจรแรกตรงขนาดของCคาปาซิสเตอร์ แต่โดยรวมวงจรเหมือนกันหมด

จะเห็นได้ว่ามีพัดลม 12V หรือจะใช้24V ก็ได้ทนดี ส่วนกล่องสีขาวเป็นกล่องอลูมิเนียมโครงประตู-หน้าต่างที่ติดกระจก เพราะอลูมิเนียมมีหน้าที่ขยายความร้อนได้ดี หลังจากที่เราเอาบริดไดโอด4ขามาแปะ

กังหันที่ผมใช้ เป็นแบบสตาร์Y 3เฟส สายไฟออกมาจากกังหันมี 3 เส้น แต่ผมใช้ บริดไดโอด แค่2 ตัวเท่านั้นครับ เพราะ บริด1ตัวสามารถต่อไฟได้2สาย

ในส่วนของดำมี่โหลด ตัวซับความร้อน ใช้ได้ดีที่สุด ถูกที่สุด คืออิฐแดงก่อผนังปูนฉาบของบ้านเรานี่ละครับ ให้หาอิฐที่มีรู2รูอยู่ด้านใน เพื่อเอาไว้ สอดสายขดลวดสลิง(ดำมี่โหลด)

หน้าตาเค้าละครับ มีหลายขนาด ตั้งแต่50wถึง1000wยังมีเลยครับ บางทีใช้ฮีตเตอร์ล้างน้ำแข็งในตู้เย็นก็ยังได้ตัวละ60บาทมีขนาด50wมีหลอดแก้วหุ้มมาให้ด้วยอย่างหลังที่ร้านอมรมีขาย

สังเกตุนะครับสายสีแดงคือขั้วบวกมาต่อเข้าบริด2ตัวที่เหลือเอาไปเข้าแบตเตอรี่ ตรงศรสีแดงชี้คือขารอรับไฟจากกังหันลม ที่เป็นไฟกระแสสรับ

ภาพด้านซ้ายมือ ลูกศรสีแดงตัวแรกคือลายปริ้นขั้วบวก ลูกศรสีแดงตัวที่สองคือสายบวกสายสีไฟสีแดงจากขารีเลย์ในปริ้นไปเข้าบวกพัดลม12vหรือ24v ลูกศรสีเขียว2ตัวบอกเป็นสถานะลายปริ้นเป็นลบ ลูกศรสีบานเย็นสายไฟขั้วบวกสีขาวจากขารีเลย์ในลายปริ้นไปเข้ารีเลย์ขาเบอร์30ของรถยนต์ ภาพด้านซ้ายมือ ภาพขยายของสายไฟไปเข้ารีเลย์รถยนต์

ภาพด้านซ้ายมือ ศรสีแดงชี้ คือสายไฟจากกังหันลมมาเข้า 3เส้น และเตรียมเอาไปเข้ารีเลย์รถยนต์ทั้ง2ตัว ต่อเข้าที่ขา เบอร์30

ภาพด้านซ้ายมือ เตรียมประกอบจะเห็นสายไฟมีสามเส้นสีเทา ที่จะเอาไปเข้าขารีเลย์ ขาเบอร์87 ทั้ง2เส้นจะเหลือ1เส้นให้เอาไปต่อครงกับสายไฟกังหันลมเส้นที่ว่างจากบริดได้เลย

แนะนำนะครับ ต้อง Boschแท้เท่านั้น เพราะวงจรคอยล์ภายในของเค้าทนทานไม่ช็อตย้อนออกมา

ในระบบการทำงานของรีเลย์ ขา87มีสองขาแต่เป็นขาเดียวกัน ขา30เป็นขาที่เตรียมพร้อมจะเป็นขาเดียวกันกับขา87 แค่รอไฟบวก-ลบ มาใส่ที่ขา85-86 ขา85-86 สามารถสลับขั้วบวก-ลบได้หมด

ลักษณะการเสียบขาของรีเลย์ ควรใช้แบบเสียบและใช้คีมย้ำ ไม่ควรใช้ตะกั่วไล้ทเพราะถ้าหาก ดำมี่โหลดทำงานหนักจะเกิดความร้อนสูงตรงที่เป็นตะกั่วจะละลาย

มองอยากซักหน่อยนะครับ ศรสีน้ำเงินชี้สายไฟสีเทาคือลบที่เอาไปเข้าแบตเตอรี่ ศรสีแดงสายไฟสีแดงเอาไปเข้าแบตเตอรี่ ส่วน3จุดสีเหลืองเป็นสายไฟจากกังหันลม
**สงใสตรงใหนส่งmail มานะครับผมจะUpdateให้** |