หายไปนานเลยนะครับ กังหันลมไทยทำเองในบทความครั้งนี้มีสิ่งพิเศษที่นอกเหนือจากทฤษฏีความคิดที่เราไม่เคยเอ่ยถึงกันเลย กับพลังงานไหลตามกัน จะเห็นและเปรียบเที่ยบได้จากกังหันลมที่ติดตั้งทั้ง9ตัวนี้ สังเกตุชุดด้านหน้าจะหมุนเร็วก่อนเมื่อโวลต์สูงค่าความหนืดของชุดหลังจะหาย
ทำให้รอบหมุนคล่องและจะเร็วกว่าปกติ เพื่อให้โวลต์เท่ากังหันชุดแรก และเป็นการเพิ่มทวีแรงดันกับกระแสของแอมป์ให้สูงตามไปด้วยครับ
ฟาร์มกังหันลมทั้ง9ชุดนี้ติดตั้งที่อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ค่ายพระรามหก ต.ชะอำ อ.ชะอำ เพชรบุรีกังหันลมชุด9ตัวนี้ ถือว่าเป็นฟาร์มขนาดเล็กที่รับลมน้อยเริ่มต้นแค่1.5เมตรเปอร์เสก แต่ก็จะมีรอบที่สูงเพราะไม่มีแรงต้านของความหนืดที่วัตต์น้อยแค่60วัตต์ต่อตัว แต่พอมีหลายตัวรวมกันวัตต์กลับได้สูงมาก ถ้าเอามาเปรียบเทียบกับราคาค่าตัวที่แสนถูก และเมื่อเอาหลายๆตัวมารวมกัน เข้าระบบทั้ง9ตัว แต่ใช้เงินแค่ แสนสองหมื่นบาทเท่านั้น ที่สร้างฟาร์มกังหันลมขึ้นมาและสามารถได้กำลังวัตต์ที่สูงเกินตัว
ต้องขออธิบายว่าทำไมถึงใช้กังหันลมตัวเล็ก จุดบอดของประเทศเราคือลมครับ ประกอบกับเราทั้งหลายมีความคิดอยากได้วัตต์เยอะๆ เลยเอากังหันลมที่มีวัตต์มากๆตัวใหญ่ๆมาใช้และติดตั้ง พอติดตั้งไปมันกลับไม่หมุ่นเลยเพราะมันหนืด ใบก็เล็ก ลมก็มีน้อย เลยไปกันใหญ่ ยิ่งเมื่อต่อโหลดหยุดทันที เพราะหลายท่านชอบเล่นของใหญ่เอาวัตต์สูงมาใช้โดยไม่ทราบกำลังลม เลยนิ่งสนิททุกราย นอกจากไม่ต่อโหลดกังหันลมจะหมุนเร็วมาก เพราะวัตต์สูงครับในเมืองไทยลมบางที่แค่กังหันลม100-200วัตต์กังหันลมยังไม่อยากจะหมุน ถ้าจะเพิ่งใบให้ใหญ่ขึ้นถึงจะหมุ่น แต่ต้องระวังชุดควบคุมจะรับไม่ใหวในยามที่ลมไม่ปกติหรือพายุ มีทางออกง่ายมากครับ ควรใช้วัตต์น้อยหลายๆตัวมารวมกัน แล้ววัตต์ที่ได้ ก็จะได้ตามจริง ใช้ลมน้อยๆตามแรงลมไทย แต่ได้เต็มประสิทธิ์ภาพ
มาดูขั้นตอนการทำงานของผมกับเพื่อนกันนะครับ

ทำร่วมกัน3ท่านขาดไปหนึ่งติดงานแสดง

ขาดจิ้มโลกเขียวไปครับ

เตรียมขดลวดก่อนเทเรซิ่น#25พัน180รอบ/ขด

วางทีละเฟส

เฟสที่2

เฟสที่3

ใยแก้วเพื่อช่วยกันแตกร้าวของเรซิ่น

วางขดลวดทับใยแก้ว

เทเรซิ่นให้เต็ม เอาใยแก้วทับหน้า

ปิดแผ่นไม้หน้าเรียบทิ้งไว้2ชม.

ชุดขดลวดทิ้งไว้1คืนครับ

โครงกังหันลม


ก่อนใส่ลูกปืนอัดจารบีก่อนนะครับ


เริ่มประกอบครับ

เจอะรูตัดเหล็กฉากทำที่ยึดแผ่นขดลวด

ใช้ไม้อัดแทนชุดขดลวดป้องกันการเสียหายจากการอ๊อกเชื่อม

ขาแกนหางเสือ

ด้านข้าง

ด้านหลัง

ตัวกันเลยของหางเสือ

หางเสือใช้ใยแก้วหล่อเรซิ่น ต้องการเบาและทน มีผลถึงชุดควบคุมกังหันลม

ลงเรซิ่นแล้วจะใส

ประกอบเสร็จจุ่มถังสีกันสนิมทั้งชุดเลยครับแล้วเอาขึ้นมาให้หมุนชุดเจนก่อนกันหยึดติดกันแล้วตากแห้งอีก2วัน

แบบไฟร์เบอร์ใช้หล่อใบไฟร์เบอร์เพื่อหนีปัญหาน้ำหนักใบไม่เท่ากันในวันนี้และวันข้างหน้า

ตัดแต่งใบ

ทดลองประกอบใบก่อนเจอะรูหยึดกับชุดเจน

ชุดควบคุมเราทำเองครับ เพื่อให้ตรงกับกังหันลมที่เราทำเอง ไม่ต้องการซื้อเค้าใช้ เพราะคำสั่งการใช้งานในบางช่วงไม่เหมือนกัน มันไม่ง่ายเหมือนของโซล่าเซลล์ที่มีไฟระดับเดียวควบคุมง่ายมีขายตามท้องตลาดทั่วไป และชุดควบคุมที่เราทำเองนี้สามารถนำไปใช้กับโซล่าเซลล์ได้อีกด้วย แค่ตัดวงจรดำมี่โหลด ชุดต้านทาน ชุดวงจรหน่วงเวลาออก ต้นทุนลดลงไปอีกเยอะเลย จะเอาคุมวัตต์สูงเท่าไหร่ก็ได้นะครับ


หลังกัดแผ่นปริ้นแล้วครับ

เตรียมพร้อมเอามาใส่กล่องข้างมิเตอร์โวลต์แอมป์

วางแผนหน้างานก่อนลงมือทำงานให้เร็วที่สุด แล้วก็เสร็จตามแผนการ 6วันพอดีรวมระบบไฟส่องสว่าง ทำกันสามคนไม่มีลูกจ้างแม้แต่คนเดียว(เหนื่อยเอาเรื่อง)

ผังตำแหน่งติดตั้งกังหันลม

เจอะหลุ่มเทฐาน พระเอกเทปูนของานนี้ครับจิ๋วแจ๋ว

ขึ้นเสาเปล่าทั้ง9ตัวก่อน

ตั้งเสาตั้งสลิงให้ตรงก่อนเอาลงมาใส่กังหันลม

เริ่มเอากังหันลมติดเสาทีละตัวแต่ช๊อตสายไฟไว้ก่อนยังไม่ให้หมุน

เดินท่อร้อยสายไฟฝังลงในดิน

เอามาเข้าตู้ควบคุมทั้ง9สาย

เสร็จเดินระบบปล่อยใบกังหันลมหมุน

สวยงามครับสีขาว กลายเป็นจุดถ่ายภาพเป็นที่ระลึกยามได้มาเที่ยวที่นี่ |